เมนู

อรรถกถาอัปปเมยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัปปเมยยสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้:-
บุคคล ชื่อว่า สุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยง่าย. ชื่อว่า
ทุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยยาก. ชื่อว่า อปฺปเมยฺโย เพราะไม่อาจ
ประมาณได้. บทว่า อุนฺนโฬ ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่พุ่งขึ้น
อธิบายว่า ยกมานะที่ว่างเปล่าขึ้นตั้งไว้. บทว่า จปโล ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
ความหลุกหลิก มีการตกแต่งบาตรเป็นต้น. บทว่า มุขโร ได้แก่ คนปากจัด.
บทว่า วิกิณฺณวาโจ ได้แก่ คนผู้ไม่สำรวมถ้อยคำ. บทว่า อสมาหิโต
ได้แก่ ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ. บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตเปลี่ยว
เปรียบเหมือนแม่โค และเนื้อป่า ตัวตื่นเตลิด. บทว่า ปากตินทฺริโย ได้แก่
ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย. บทที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอัปปเมยยสูตรที่ 3

4. อาเนญชสูตร



ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน 3 จำพวก



[546] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่
ในโลก บุคคล 3 คือใคร คือบุคคลลางคนในโลกนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา
(ความกำหนดในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน) หมด ดับปฏิฆสัญญา
(ความกำหนดในปฏิฆะ) หมด ไม่ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา (ความกำหนด
มีอาการต่าง ๆ กัน ) หมด (ถืออากาศเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺโต

อากาโส) อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจ
ยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่
ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น ) จนกระทำกาลกิริยา
ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย 20,000 กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากา-
สานัญจายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็นปุถุชน อยู่จนตลอดกำหนด
อายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิด
ดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้วย่อม
บ่รินิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้
สดับกับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่ (คือยังต้องเวียนเกิดอยู่)
อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนะหมด (ถือ
วิญญาณเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺตํ วิญฺญาณํ) วิญญาณหาที่สุดมิได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้ง
อยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่
ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่า
วิญญาณัญจายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย 40,000 กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าวิญญา-
ณัญจายตนะ. (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุ
ในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนมิได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่

อีกข้อหนึ่งบุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนะหมด (ถือ
เอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (นตฺถิ กิญฺจิ)
ไม่มีอะไร ๆ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน อยู่บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วย
ฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น
มากด้วยฌานนั้น อยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิด
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย 60,000 กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากิญ
จัญญายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชนอยู่ตลอดกำหนดอายุใน
เทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
กับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอาเนญชสูตรที่ 4

อรรถกถาอาเนญชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอาเนญชสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทสฺสาเทติ ได้แก่ ชอบใจฌานนั้นน. บทว่า ตํ นิกาเมฺติ
ได้แก่ ปรารถนาฌานนั้นแหละ. บทว่า เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ ได้แก่
ถึงความยินดีด้วยฌานนั้น. บทว่า ตตฺถ ฐิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในฌานนั้น.